Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

สุขภาพจิตดี สู้ COVID - 19

17 เม.ย. 2563


   ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อาจทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และสับสน เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่เราจะลดความวิตกกังวลที่ทำให้บั่นทอนจิตใจของเราได้อย่างไร เพราะนอกจากการดูแลร่างกายแล้ว การดูแลจิตใจก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้

มาดูกันว่า คุณมีความกังวลต่อเรื่องวิกฤตสถานการณ์ COVID-19 กันอย่างไรบ้าง

แบบคัดกรองความกังวลต่อเชื้อไวรัส COVID-19

  • ท่านรู้สึกกังวล ไม่สบายใจกับการที่ต้องออกไปนอกบ้าน
  • ท่านรู้สึกกังวลกับการเตรียมตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 เช่น กักตุนอาหาร, หน้ากาก, เป็นต้น
  • ท่านนอนไม่หลับ / หรือมีปัญหาการนอน เพราะคิดเกี่ยวกับเชื้อไวรัส COVID-19
  • ท่านคิดว่า เชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของท่าน
  • ท่านคิดว่าท่านมีโอกาสติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากเพียงใด

ความกังวลแบ่งเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง

  • ความกังวลระดับต่ำ
  • ความกังวลระดับปานกลาง
  • ความกังวลระดับสูง

สอบถามระดับความกังวล คลิก >  http://line.me/ti/p/%40bis9773m

  • มีความกังวลในระดับต่ำ

หมายถึง ท่านมีความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เล็กน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ท่านมีความใส่ใจที่จะดูแลและป้องกันตนเอง ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันของท่าน

การดูแลและการปฏิบัติตัว

  • ควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ ไม่เกินวันละ 1 – 2 ชั่วโมง เฉพาะแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ไม่แชร์ ไม่โพสต์ ไม่ใช้คำหยาบ
  • ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกรมสุขภาพจิตและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความกังวล เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดูรายการบันเทิง ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ อื่นๆ
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ช่วยแนะนำความรู้ที่ถูกต้องให้กับคนที่มีความกังวลสูงหรือคนที่ยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
  • มีความกังวลในระดับปานกลาง

หมายถึง ท่านมีความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ปานกลาง ซึ่งอาจกระทบกับการดำเนินชีวิตปะจำวันในบางด้านของ

ท่าน และมีโอกาสที่จะเพิ่มความกังวลสูงขึ้นได้ หากไม่มีวิธีปฏิบัติตัวที่เหมาะสม

การดูแลและการปฏิบัติตัว

  • ควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง เฉพาะแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ไม่แชร์ ไม่โพสต์ ไม่ใช้คำหยาบคาย
  • ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกรมสุขภาพจิตและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความกังวล เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดูรายการบันเทิง ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ อื่นๆ
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หาเพื่อนหรือคนในครอบครัวพูดคุยขอคำปรึกษา อาจทำได้หลายวิธี เช่น โทรศัพท์ หรือคุยผ่านโซเชียลมีเดีย ก็ได้
  • ถ้ายังคงมีความกังวลสูง สามารถปรึกษานักจิตวิทยาคลินิก หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพิ่มเติมได้ที่สายด่วน โทร.1745 
  • ผู้ทีมีความกังวลระดับสูง

หมายถึง ท่านมีความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สูง จนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันของท่านอย่างมาก ความกังวลในระดับนี้หากคงอยู่เป็นเวลานาน อาจเพิ่มโอกาสเจ็บป่วยทางกายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นท่านมีความจำเป็นต้องหาทางผ่อนคลายกังวลให้น้อยลง

การดูแลและการปฏิบัติตัว

  • ควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ ไม่เกินวันละ 30 นาที เฉพาะแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ หมั่นเปลี่ยนกิริยาบถไปทำอย่างอื่นบ้าง ไม่แชร์ ไม่โพสต์ ไม่ใช้คำหยาบคาย
  • ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของกรมสุขภาพจิตและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความกังวล เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดูรายการบันเทิง ปลูกต้นไม้ อ่านหนังสือ อื่นๆ
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยง / งดการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
  • ควรพูดคุยขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลและปฏิบัติตัวเองกับเพื่อน ญาติหรือผู้ที่มีความรู้เรื่องนี้
  • ถ้ายังคงมีความกังวลสูง สามารถปรึกษานักจิตวิทยาคลินิก หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพิ่มเติมได้ที่สายด่วน โทร. 1745
  • ติดต่อขอรับบริการด้านสุขภาพจิตในหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หากท่านมีอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบายใจจนไม่สามารถดำเนินชีวิตปะจำวันได้

 ขอขอบคุณข้อมูล : กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.